วันเสาร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2560

Operation Barras (10 กันยายน 2000) : ภารกิจชิงตัวประกันที่สุดแสนจะปวดหัวในเซียร์ร่า ลีโอน

แผนที่สาธารณรัฐเซียร์ราลีโอน

 1. ความขัดแย้งที่ไม่รู้จบในแผ่นดินที่ชื่อ เซียร์ร่า ลีโอน

 หากใครที่เคยอ่านเรื่องราวเกียวกับทวีปแอฟริกา นั้นจะทราบดีว่าแต่ละประเทศในแอฟริกาล้วนเคยผ่านช่วงเวลาที่โหดร้ายของสงครามกลางเมืองภายในประเทศ ที่คร่าชีวิตผู้บริสุทธิ์เป็นจำนวนมาก อาทิ โซมาเลีย ไนจีเรีย รวันดา และอีกหลายประเทศ  ซึ่งไม่สามารถที่จะหยุดยั้งช่วงเวลาความบ้าคลั่งได้
แม้จะมีความพยายายามจากนานาชาติโดยการใช้กำลังทหารเข้ามารักษาสันติภาพ และปฏิบัติภารกิจทางด้านมนุษยธรรมก็ตาม 



นักรบกลุ่มเวสต์ไซด์บอย




   อีกประเทศหนึ่งที่ตั้งอยู่ในแอฟริกา อย่าง เซียร์ร่า ลีโอน  ก็ไม่ต่างจากประเทศอื่นๆในแอฟริกาที่ต้องผจญกับช่วงเวลาวิบากกรรมจากสงครามกลางเมือง  สาธารณรัฐเซียร์ราลีโอน เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในแอฟริกาตะวันตก  มีเมืองหลวง ชื่อ ฟรีทาวน์  หลังได้รับเอกราชจากอังกฤษ ในปี 1961 เซียร์ร่า ลีโอน
ก็เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นเรื่อยมา จนกระทั่งในปี 1999 สหประชาชาติได้จัดตั้ง กองกำลังสังเกตุการณ์แห่งสหประชาชาติในเซียร์ร่า ลีโอน(UNAMSIL) โดยมีภารกิจเช่น สังเกตุการณ์ระหว่างหยุดยิงตลอดจนภารกิจทางด้านมนุษยธรรม (ประเทศไทยก็เคยส่งทหารเข้าไปร่วมรักษาสันติภาพในครั้งนี้ด้วยเช่นกัน) ในที่สุดประเทศก็เข้าสู่ความสงบ   แต่ก็ยังไม่อาจเรียกว่าสงบสุขได้เต็มปากเพราะแม้สงครามกลางเมืองจะยุติ ก็ยังมีกองกำลังติดอาวุธต่างๆ ที่จะเข้ามาก่อความไม่สงบ สังหารผู้คน  ตลอดจนปล้นทรัพย์ของคนในท้องที่ หนึ่งในกลุ่มที่มีชื่อเสียงก็ได้แก่ กลุ่ม "เวสต์ไซด์บอย" ซึ่งเป็นกลุ่มที่เกิดจากลูกหลานของกองกำลังติดอาวุธในสมัยสงครามกลางเมือง  มีผู้นำกลุ่มชื่อ โฟเดย์ คัลเลย์  พวกเขามีฐานที่มั่นอยู่ในหมู่บ้านกเบรีบานา  ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองฟรีทาวน์และมีสภาพเป็นป่าหนาทึบ   พวกเขาประทังชีวิตด้วยการออกปล้นชาวเมือง ต่อมา คัลเลย์ตัดสินใจที่จะขอวางอาวุธต่อสหประชาชาติเพราะเห็นว่า การปล้นต่อไปก็คงไม่ทำให้ความเป็นอยู่ดีขึ้น   


 2. ใครกันแน่ที่เป็นฝ่ายยอมจำนน  เมื่อทหารอังกฤษโดนปลดอาวุธเสียเอง . . . . . . . . . .




 






 หลังจากคัลเลย์ตัดสินใจที่จะมอบตัว  ทาง UNAMSIL จึงส่งทหารอังกฤษจำนวน 11 นาย จากชุดลาดตระเวน กรมทหารราบไอริช  เข้าไปปลดอาวุธกลุ่มเวสต์ไซด์บอย  โดยมีพันตรี อลัน มาร์แชล เป็นหัวหน้าชุดลาดตระเวน ทั้งนี้ ยังมี ผู้พัน มูซา บังกรา นายทหารจากกองทัพเซียร์ร่า ลีโอน จากนั้นพวกเขาเคลื่อนพลโดยใช้รถแลนด์โรเวอร์  โดยที่ไม่ได้รู้ตัวว่ากำลังจะเข้าไปในรังของเหล่าไฮยีน่าที่กำลังรอเนื้อสดๆก็ไม่ปาน  เพราะทางฝั่งเวสต์ไซด์บอย  ซึ่งคัลเลย์กำลังเตรียมทำการปลดอาวุธ  พลพรรค WSB ที่กลับมาจากการสอดแนมแจ้งว่า  กองทหารอังกฤษที่จะเข้ามาปลดอาวุธนั้นมีเพียงแค่ 12 นาย (รวมล่าม คือพันตรี มูซา)  ทำให้คัลเลย์เกิดนึกในใจว่า ถ้าจับทหารอังกฤษน่าจะทำเงินได้เยอะพอที่จะเลิกปล้นไปได้เลย  จึงเกิดเปลี่ยนใจสั่งให้ลูกน้องเข้าไปซุ่มระหว่างเส้นทาง ที่ชุดลาดตระเวนเข้ามา  และเมื่อมาพวกเขามาถึงให้ จับเป็น ให้หมด 


   ทางด้านชุดลาดตระเวนของอังกฤษซึ่งยังไม่รู้ตัวว่าจะเจอสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดนั้น  พวกเขากำลังปวดหัวกับการนำรถเข้าสู่หมู่บ้าน ทั้งนี้เนื่องจากเส้นทางไปยังหมู่บ้านกเบรีบานาเป็นป่าหนาทึบ   ทำให้ถนนดูแคบลง   และทำให้ทัศนวิสัยดูแย่ลงทันที  


    ทันทีที่ชุดลาดตะเวนของผู้พันมาร์แชลมาถึง  พวกเขาถึงกับต้องตกใจเมื่อรอบพวกเขาคือเด็กหนุ่มกองกำลังติดอาวุธ  กลับโผล่พรวดเข้ามาล้อมขบวนรถ พร้อมทั้งตะโกนสั่งให้วางอาวุธด้วยสำเนียงกระท่อนกระแท่น  แม้ตอนแรกผู้พันมาร์แชลจะใจดีสู้เสือ พยายามพลิกสถานการณ์ โดยการส่งสัญญาณให้ทหารยิงทันที แต่โชคร้ายถูกกองกำลังติดอาวุธรวบตัวและขู่ว่า "ถ้าพวกแกยิงเมื่อไหร่  ข้าจะส่งหัวหน้าพวกแกไปยมโลกแน่!" เช่นนี้แล้วทหารอังกฤษจึงยอมจำนนแต่โดยดี ทุกคนถูกปลดอาวุธและอุปกรณ์ติดตัวไปหมด  พวกเขาถูกส่งตัวไปคุมขุังไว้ที่บ้านของกลุ่ม  ยกเว้นผู้พันมูซาที่ดูจะโดนหนักกว่าเพื่อนทั้งถูกทุบตี กระทืบ และถูกด่าทอว่า "สุนัขรับใช้จักรวรรดิ"   เขาถูกขังที่บ่อของโสโครก 


     กลายเป็นว่าพวกเขาถูกปลดอาวุธเสียเองแล้วหรือนี่ . . . . . . . .  .


3. เปิดโต๊ะเจรจา ที่ยิ่งขอยิ่งยุ่งเหยิง (แถมชักศึกเข้าบ้านด้วยครับ ท่านผู้ชม)
 

      หลังจากการหายตัวไปของชุดลาดตระเวน  ทางกองทัพอังกฤษจึงเริ่มวางแผนหาทางช่วยเหลือ ซึ่งบังเอิญ คัลเลย์ได้ส่งตัวแทนมาบอกทหารอังกฤษว่าขอเจรจาแลกเปลี่ยนเชลย  โดยมีการนัดกันในวันที่ 25 สิงหาคม ทั้งสองฝ่ายได้เริ่มต้นเจรจาทันที แต่ทว่าปัญหาคือ คัลเลย์เมาเพราะเสพกัญชาทำให้เขาไม่สามารถตั้งสมาธิในการเจรจา  ยิ่งเจรจาก็ชักจะยิ่งปวดหัว กล่่าวคือ ตอนแรก ขอเงินกับอาวุธ ต่อมาจะเอาอาหาร   จนถึงขั้นขอฐานทัพของกองทัพเซียร์ร่า ลีโอน    สร้างความปวดหัวให้กับนักเจรจาฝั่งอังกฤษก็ไม่น้อย   จนในที่สุดเพราะทนไม่ไหวกับอาการเมาของคัลเลย์  หรือ คิดแล้วว่าเจรจาแบบนี้ไม่น่ายุติ เขาจึงตัดสินใจ มอบโทรศัพท์ดาวเทียม ให้กับคัลเลย์  ทำเอาคัลเลย์ถึงกับดีใจเพราะได้ของดี  จึงให้ลูกน้องปล่อยตัวประกัน 5 คนแรกอย่างใจป้ำ  ซึ่งคัลเลย์ไม่รู้ตัวว่าเขากำลังปล่อยไก่อย่างรุนแรง  จนเป็นการชักศึกเข้าบ้านโดยไม่รู้ตัว 


       เพราะอะไรนะหรือ   ก็เพราะว่าการที่อังกฤษยอมมอบโทรศัพท์ให้ก็เพราะ เหตุผล 2 ประการดังนี้


  1.  เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อใจให้คัลเลย์  และเผื่อการเจรจาครั้งต่อไปก็สามารถติดต่อได้เลยโดยไม่ต้องมาเจรจากันแบบต่อหน้า  เผื่อคัลเลย์เกิดจะปล่อยตัวประกันเพิ่มเติม

     
  2.  ซึ่งเป็นเหตุผลแอบแฝงคือ  เพื่อสามารถระบุตำแหน่งของที่ตั้งของที่คุมขังทหารอังกฤษเพื่อประเมินสถานการณ์ในการวางแผนช่วยเหลือตัวประกัน   ถือเป็นข้อเป็นข้อผิดพลาดที่คัลเลย์ทำพลาดอย่างมหันต์ในการเปิดเผยตำแหน่งตนเองและยิ่งปล่อยตัวประกันซึ่งเป็นทหารนั้นยิ่งเลวร้ายไปอีกเพราะตัวประกันที่ถูกปล่อยตัวมาได้แอบทำการวาดแผนฝัง ของอาคารคุมขัง ระหว่างที่ถูกควบคุมใส่เศษกระดาษพร้อมกับแอบส่งให้กับนักเจรจา ทำให้ ฝ่ายอังกฤษรู้สึกเหมือนบอลเข้าขา รอยิงเข้าโกล์ได้เลย    พูดง่ายๆ "กินหมู" ดีๆนี่เอง



      ฝ่ายอังกฤษเมื่อได้ข้อมูลจากพิกัดบนโทรศัพท์ที่ส่งให้คัลเลย์  ประกอบกับคำบอกเล่าจากตัวประกันจึงเริ่มวางแผนช่วยตัวประกันทันที ดังนั้นฝ่ายอังกฤษจึงให้ชุดเจรจาทำการเจรจาต่อไปและซื้อใจคัลเลย์โดยการหาเสบียงไปมอบให้ (เปย์ให้ไม่อั้น)  จะว่าไปการเจรจารอบหลังคือ "ซื้อเวลา" เพื่อวางแผนนั่นเองโดยที่คัลเลย์ไม่รู้ว่า กำลังจะถูกมอบความตายเพราะความไม่เฉลียวใจของตัวเองเสียแล้ว  

ขณะเดียวกันทางอังกฤษก็ได้ส่งหน่วย SBS (Special Boat Service) หน่วยปฏิบัติการพิเศษทางเรือเข้าแทรกซึมเพื่อสังเกตุการณ์ภายในค่ายคุมเชลยและจับตาดูพฤติกรรมของกลุ่มเวสต์ไซด์บอย  ซึ่งทีมสังเกตุการณ์SBS พบว่า  กลุ่มเวสต์ไซด์บอย นั้นเป็นเพียงแค่กองโจรที่ไร้ระบบระเบียบ   วันๆก็เสพกัญชา  แล้วจึงออกปล้นในเมือง พอตอนเย็นกลับมาก็ปาร์ตี้จนเมาหัวราน้ำ   เมื่อทางฝ่ายอังกฤษได้ข้อมูลเพิ่มเติมจากทีมสังเกตุการณ์แล้วจึงให้ชุดเจรจานำสุราไปแจกให้คัลเลย์เยอะๆ  


        ในที่สุดแผนการช่วยเหลือตัวประกัน ก็เริ่มออกมาเป็นรูปเป็นร่าง อย่างรวดเร็ว  ที่เหลือก็รอเพียงเวลาตัดริบบิ้นเปิดงาน  หรือเริ่มภารกิจนั่นเอง



4.  แผนปฏิบัติการ
    จากข้อมูลลักษณะของค่ายของกลุ่ม
เวสต์ไซด์บอยที่ถูกส่งมาโดยทหารอังกฤษที่ยังถูกจับเป็นตัวประกัน อย่างลับๆในวันเจรจาครั้งแรกกับคัลเลย์ ทำให้ฝ่ายอังกฤษมีข้อมูลพอที่จะเริ่มทำการค้นหาและช่วยเหลือตัวประกัน ทั้ง สภาพของตัวอาคาร ผังที่ตั้งของอาคารที่คุมขัง  อีกทั้ง ข้อมูลความเคลื่อนไหวของเหล่าเวสต์ไซด์บอย จากทีมสังเกตุการณ์ หน่วย SBS  ยิ่งทำให้ฝั่งอังกฤษเหมือนมี "แต้มต่อ" ที่ภารกิจนี้จะสำเร็จอย่างแน่นอน 


 4.1 ลำดับขั้นตอนของภารกิจ



    
รายละเอียดของภารกิจ




  1.   ทหารพลร่มจำนวน 110 นาย จากกองพันที่1 กรมทหารพลร่ม จะเข้าไปวางกำลังแถวหมู่บ้านแมกเบนี คอยวางกำลังรอบๆ พื้นที่ปฏิบัติการ เพื่อคุ้มกัน ชุดปฏิบัติการจากข้าศึกที่จะวิ่งข้ามสะพานเข้ามาสมทบกับWSB ในพื้นที่ 


     
  2.    ทหารหน่วยรบพิเศษ SAS จากหมู่ดี (D-Squadron) แห่งกรมปฏิบัติการพิเศษทางอากาศที่ 22  จะเข้าชิงตัวประกันโดยมีเฮลิคอปเตอร์ แบบชินุค และ ah-7 ลิงซ์ คอยยิงคุ้มกันเพื่อเปิดทางให้ทีมจู่โจมเข้าไป
  3.   ชุดสังเกตุการณ์จากหน่วย SBS (Special Boat Service) ซึ่งวางตัวสังเกตุการณ์ตั้งแต่การเจรจาจะคอยคุ้มกันแถวบ้านที่ขังเชลย
    เพื่อคุ้มกันไม่ให้เชลยถูกสังหาร  



     ในการปฏิบัติการครั้งนี้ได้มีการเสริมทัพโดยทหารพลร่ม 1 กองพันเข้ามาเพราะว่าทางกองบัญชาการในอังกฤษได้รับข้อมูลเพิ่มเติมว่า บริเวณหมูบ้านกเบรีบานา นั้นยังมีหมู่บ้านใกล้ๆชื่อหมู่บ้านแมกเบนี ซึ่งแม้จะไม่ได้เป็นอริกับกับกลุ่ม WSB ก็ตามแต่ฝั่งอังกฤษมีความกังวลว่า เสียงปืนอาจจะเกิดทำให้พวกเขาเข้าใจผิดจนกลายเป็นการชักศึกเข้าบ้านก็เป็นได้ อีกทั้งแม่น้ำหระหว่างหมู่บ้านมีขนาดไม่กว้างมากนัก  ทำให้คนจากหมู่บ้านแมกเบนีอาจข้ามมาซุ่มโจมตีหน่วยSASและอากาศยาน ได้

      ซึ่งอเมริกาก็เคยเจอสถานการณ์นี้  ในการยุทธ์โมกาดิชู เมื่อ ปี 1993 ที่ หน่วยเดลต้า ฟอร์ซ และเรนเจอร์บุกเข้าจับกุมนายทหารของนายพลไอดิดที่นอกจากต้องรับมือกับนักรบจากกองกำลังติดอาวุธของไอดิด  แล้วยังถูกกระหนายโดยชาวบ้านที่เกิดสติแตกจากความกลัวที่จับอาวุธ  จนต้องเสียทหาร 18 นาย และเฮลิคอปเตอร์ 2 ลำ


       ดังนั้นอังกฤษจึงตัดสินใจว่าเฟสแรกจะให้เฮลิคอปเตอร์ ชินุค และ ลิงซ์  โปรยฝนเหล็กด้วยมินิกัน  ปืนกลเพื่อกำจัดศัตรูที่อาจซ่อนในบ้าน  จากนั้นจึงส่งพลร่มเข้าไปเบี่ยงเบนความสนใจเพื่อให้ SAS เข้าไปช่วยตัวประกัน ในกเบรีนาได้อย่างสะดวก




    5.
    ได้เวลาตัดริบบิ้น  (เปิดภารกิจ)   



       วันที่ 17 กันยายน 2000 รุ่งเช้า เมื่อเหล่าทหารหนุ่มแห่ง SAS และพลร่ม จัดอาวุธและอุปกรณ์ ตลอดจนสรุปครั้งสุดท้ายจนเสร้จสิ้นพวกเขาจึงเหินฟ้าด้วยเฮลิคอปเตอร์ชินุค  และลิงซ์  เพื่อเข้าไปวางตัวในพื้นที่รับผิดชอบของตน  ซึ่งทุกอย่างก็ดูจะเป็นไปได้ด้วยดีแต่แล้วก็ต้องเจอความยุ่งยากจนได้เมื่อทหารพลร่มที่จะเข้าไปวางตัวในหมู่บ้านแมกเบนีกลับโรยตัวลงมาในบึงชื้นแฉะ  ทำให้เคลื่อนตัวไปยังเป้าหมายลำบากมาก อีกทั้งวิทยุกลับไม่สามารถใช้งานเพื่อจะติดต่อไปทางหน่วย SAS ให้เลื่อนเวลาแต่สายไปเสียแล้ว  ผู้พันแม็ทธิว โลว์ หัวหน้าชุดพลร่มเห็นชาวบ้านแมกเบนี คว้าอาวุธเข้ามาทางพวกตน  ผู้พันโลว์จึงสั่งให้ทีมยิงปืนขึ้นฟ้าเพื่อขู่ชาวบ้านไม่ให้ข้ามสะพาน  จนเกิดการปะทะย่อยๆ ที่เลวร้ายเพราะ พลร่มไม่สามารถขยับตัวได้เลย  และแล้วผู้พันโลว์ก็ถูกยิงจนเสียชีวิต  โดยมี ร้อยเอกแดน แมทธิวส์  รับช่วงต่อแทน  



       ส่วนหน่วยSAS ที่เป็นทีมช่วยเหลือเมื่อถึงหมูบ้านกเบรีนาแล้ว เฮลิคอปเตอร์จึงโปรยฝนเหล็กจากกันชิปรอบหมู่บ้านอย่างหนักหน่วง
เพื่อกำจัดข้าศึกและกลุ่มที่ใช้ จรวดอาร์พีจีที่ซ่อนตัวอยู่  ซึ่งแรงลมจากใบพัดของเฮลิคอปเตอร์ทำเอาฝุ่นตลบ  และหลังคาของอาคารที่สร้างอย่างๆง่ายๆ กระเด็น ออกไป   แม้จะมีการต่อต้านแต่พวก WSB ไม่ใช่ทหารที่ฝึกมาอย่างดี ก็เลยถูกฝนเหล็กจากกันชืปจนร่วงไปทีละคน    



       คัลเลย์เมื่อรู้ว่าตนถูกอังกฤษหลอกจึงนำพลพรรคที่เหลือไปยังบ้านที่คุมเชลยเพื่อสังหารตัวประกันให้หมดแต่ยังไม่ถึงตัวบ้านพวกเขาก็ถูกต้อนรับโดยสไนเปอร์ของ SBS ที่ซุ่มรออยู่แล้ว พวกเขาค่อยๆบรรจงเก็บกองกำลังติดอาวุธทีละคน จนเหลือคัลเลย์ที่เกิดอาการกลัวจนวิ่งกลับไปซ่อนตัวในบ้าน  





       เมื่อพื้นที่ถูกถางโดยกันชิปแล้ว หน่วย SAS จึงโรยตัวเข้าปิดล้อมอาคารที่ละหลังพร้อมกับสังหารข้าศึก  ขณะเดียวกันก็พยายามหาเชลยให้เจอ  จนกระทั่ง SAS นายหนึ่งได้ยินเสียงตะโกนว่า "พวกเราทหารอังกฤษๆ" จากอาคารหลัง SASหนุ่มจึงเข้าไปข้างในพบทหารอังกฤษที่ถูกจับ 6 นาย ทหารSAS จึงพาพวกเขาออกมายังจุดถอนตัว
ซึ่งมีขนาดพแๆกับสนามบอล  


         ส่วนผู้พันมูซาทหารล่ามที่ได้รับบาดเจ็บปางตายก็คงคิดว่าคงไม่มีใครหาเค้าเจอวินาทีนั้นเอง  SAS อีกทีมพบผู้พันมูซาในบ่อจึงอุ้มเขาออกมาเพื่อทำการถอนตัว  ส่วนอีกทีมก็เจอคัลเลย์ที่อยู่ในสภาพไร้พิษสง แล้วเพราะลูกน้องไม่ถูกยิงก็ทิ้งอาวุธหนีไป   สุดท้ายคัลเลย์ก็ถูกจับกุม เป็นอันสิ้นสุดภารกิจ  



          ภารกิจในครั้งนี้จึงเป็นภารกิจหนึ่งที่ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม แม้จะสูญเสียผู้พันโลว์ไปแต่การสูญเสียเขาก็ไม่เป็นการสูญเปล่าเพราะตัวประกันทั้งหมดได้รับการปล่อยตัวอย่างปลอดภัย  อีกทั้งยังเป็นการตอกย้ำชื่อเสียงความเป็นหน่วยปฏิบัติการพิเศษที่มีมายาวนานนับแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 ของ SAS ที่เหล่าผองเพื่อนหน่วยรบพิเศษยอมรับโดยไม่มีข้อโต้แย้ง   


           ภารกิจในครั้งนี้ยังเป็นการให้กำเนิดหน่วยรบพิเศษน้องใหม่ในชื่อของหน่วยสนับสนุนการรบพิเศษ หรือ Special Forces Support Group โดยมีภารกิจในการสนับสนุนการปฏิบัติการพิเศษนั่นเอง
สัญลักษณ์ของ  Special Forces Support Group(SFSG)

SFSG ในภารกิจที่อิรัก












      

วันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2559

Delta Force : หน่วยลับ หมัดเด็ดของกองทัพบก สหรัฐฯ



เหตุการณ์สังหารหมู่นักกีฬาในการแข่งขันโอลิมปิกที่เมืองมิวนิค ประเทศเยอรมนี นั้นถือเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้ทั่วโลกได้ตระหนักถึง
ภัยก่อการร้าย และหาทางแก้ไขอย่างจริงจัง และ
ยังเปรียบเสมือนจุดเริ่มต้นการก่อตั้งหน่วยต่อต้านการก่อการร้ายชั้นนำ อาทิเช่น GSG-9, GIGN ตลอดจนหน่วย SAS อันลือชื่อ ซึ่งเป็นชาติในฝั่งยุโรป ส่วนอเมริกา แม้ในช่วงนั้นเพิ่งสิ้นสุดจากเวียดนาม แต่พวกเขาก็มีหน่วยต่อต้านก่อการร้ายชั้นลับสุดยอด ที่ใช้เป็นไม้ตายก้น หีบเช่นกัน พวกเขาคือ หน่วยปฏิบัติการพิเศษ เดลต้า (Special Operation Detachtment Delta) หรือ รู้จักในชื่อไม่เป็นทางการ เดลต้า ฟอร์ซ รวมถึง Combat Application Group (CAG= กองปฏิบัติการทางยุทธวิธี) นั่นเอง
*****************************************************************
ถ้าพูดถึงจุดกำเนิดของพวกเขาแล้ว อาจจะช้ากว่าพี่ๆทางยุโรปสักนิดหนึ่ง พวกเขาเริ่มต้นในปี 1977 พันเอก ชาร์ลี เบควิธ นายทหารแห่งหน่วยปฏิบัติการพิเศษกองทัพบก หรือ กรีน เบเร่ต์ ซึ่งมีประสบการณ์อย่างโชกโชนในสงครามเวียดนาม และเคยมีส่วนร่วมในภารกิจ B-52 โปรเจ็คเดลต้า ได้มีโอกาสไปเป็นนายทหารแลกเปลี่ยนที่หน่วย SAS ประเทศอังกฤษ ทำให้เขาได้เรียนรู้และเห็นว่า สหรัฐควรที่จะมีหน่วยตอบโต้เร็วอย่าง SAS บ้าง แต่ในช่วงนั้น ในกองทัพต่างก็มีหน่วยพิเศษ ต่างๆเช่น เรนเจอร์ กรีนเบเร่ต์ อยู่แล้วทำให้นายทหารบางนายแย้งว่า ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องตั้งหน่วยใหม่ ร้ายกว่านั้นกลัวว่า มือดีของพวกเขาจะถูกย้ายไปหน่วยใหม่ซึ่งยอมไม่ได้แน่นอน โดยเฉพาะผู้พันมอนเทล เขาถึงขั้นสกัดดาวรุ่งโดยจัดโครงการ Blue Light ขึ้นมากล่าวคือ เป็นการคัดทหารจากหน่วยพิเศษ ต่างๆมาฝึกเร่งด่วนไว้เป็นชุดรับมือก่อการร้าย เพื่อเป็นการตอกย้ำประมาณว่า "พวกเราก็รับมือการก่อการร้ายโดยไม่ต้องตั้งเดลต้าก็ได้"
****************************************************************
แม้จะโดนคัดค้านอย่างแรงแต่เบควิธก็เชื่อว่าแนวคิดของเขาที่ได้รับจาก SAS จะต้องเป็นจริงให้ได้ ในที่สุดหน่วยเดลต้า ก็ได้ถือกำเนิดเมื่อ 19 พฤศจิกายน 1977 โดยมีที่ตั้งอยู่ใน ฟอร์ทแบร็ก นอร์ธ แคโรไลน่า ซึ่งเป็นบ้านของหน่วย กรีนเบเร่ต์นั่นเอง
รูปแบบการคัดเลือกและการฝึกจะมีความคล้ายคลึงกับ หน่วย SAS คือการทดสอบจะไม่มีการกำหนดเกณฑ์ผ่านขั้นต่ำ ในแต่ละสถานีทดสอบเช่น เดินเร่งรีบไปจุดนัดพบ การอ่านแผนที่ ซึ่งพวกเขาจะรู้ตัวว่าไม่ได้ไปต่อโดยการเข้ามาบอกจากตัวครูฝึกเอง และเมื่อผ่านการทดสอบก็ต้องมาเจอด่านสัมภาษณ์ ซึ่งผู้เข้ารับการคัดเลือกจะเจอคำถามต่างๆ ที่วัดไหวพริบและจิตใจ ซึ่งเมื่อผ่านจุดนี้แล้ว ก็จะมีสิทธิ์เข้ารับการฝึก ทั้งด้านอาวุธ ยุทธวิธี ตลอดจนการขับยานพาหนะต่างๆ โดยไฮไลท์การฝึกคือ บ้านสังหาร ที่สร้างสำหรับการฝึกรบระยะประชิด

*****************************************************************


นับแต่ตั้งหน่วยมาภารกิจของเขาน้อยมากที่ไม่มีการเปิดเผยสู่สาธารณะ แต่ก็มีภารกิจที่ได้รับการเปิดเผยมาบ้างเช่น ปฏิบัติการ Just Cause ที่ปานามา ภารกิจ ฟื้นฟูความหวังที่ โซมาเลีย ในปี 1993 จน มาถึง ภารกิจในอิรักและอัฟกานิสถาน ในปัจจุบัน




















วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

SOF The Serie : EP 2  DEVGRU (AKA : SEAL Team Six): ทีมรวมมือพระกาฬแห่งซีล


 เมื่อ 2 พฤษภาคมที่ผ่านมา เป็นวันครบรอบของปฏิบัติการทางทหารที่กลายเป็นหน้าหนึ่งในประวัติศาสตร์ นั่นคือ ปฏิบัติการ Neptune Spear หรือปฏิบัติการ ล่า โอซามา บินลาเดน ซึ่งประสบความสำเร็จหลังจากความพยายามในการค้นหา ถึง 10 ปี และหนึ่งในความสำเร็จนี้ก็มาจากหน่วยปฏิบัติการพิเศษของกองทัพเรือ หรือ หน่วยเนวี่ซีล แต่พวกเขาเหล่านี้ เป็น "ที่สุด" ของหน่วยซีล พวกเขาคือ DEVGRU หรือ SEAL Team six นั่นเอง


 หน่วยพัฒนาการสงครามพิเศษทางเรือ (The United States Naval Special Warfare Development Group (NSWDG)) หรือ เดฟกรุ๊ป (DEVGRU)เมื่อเอ่ยชื่อนี้แล้วมิได้เป็นหน่วยงานใหม่แต่อย่างใด พวกเขาคือหน่วยปฏิบัติการพิเศษแห่งกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาที่มีหน้าที่ใน ภารกิจต่อต้านการก่อการร้ายสากล เช่นเดียวกับหน่วยปฏิบัติการเดลต้า (Special Operation Detachment-Delta (1st SFOD-D)หรือ Delta force) ของกองทัพบก



  
   จุดเริ่มต้นของหน่วยนี้เริ่มต้นขึ้นในช่วงภารกิจ กรงเล็บอินทรี (Operation Eagle Claw) อันเป็นความพยายามในการเข้าช่วยเหลือตัวประกันในประเทศอิหร่าน เมื่อหนึ่งในนายทหารแห่งหน่วยสงครามพิเศษทางเรือชื่อ ริชาร์ด มาร์ชินโก้ (Richard Marcinko) ผู้ซึ่งมีประสบการณ์อย่างโชกโชนในเวียดนามได้รับมอบหมายจากกองทัพเรือให้จัด ตั้งชุดต่อต้านการก่อการร้ายขึ้นโดยตั้งชื่อตอนแรกว่า ชุดเคลื่อนที่ที่ 6 (Mobility 6 หรือ Mob Six) และต่อมาจึงมีชื่อว่า Seal Team Six (การกำหนดตัวเลขทีม มาร์ชินโก้ตั้งลวงข่าวกรองข้าศึกว่า มีซีล 6 ทีม แต่ในตอนนั้น มีเพียงแค่ 2 ทีม) โดยมาร์ชินโก้รับหน้าที่เป็นผู้บังคับหน่วยเป็นคนแรกและคัดเลือกรวมถึงฝึก สมาชิกด้วยตัวเองภายใต้แนวคิด "คิดจะต่อต้านการก่อการร้าย ก็จงเป็นผู้ก่อการร้ายเสียก่อน " กล่าวคือสมาชิกจะต้องทำตัวให้กลมกลืนกับผู้คนธรรมดามากที่สุด โดยสังเกตุได้จากสมาชิกในหน่วยมักจะไว้ผมยาว ไว้หนวดเครา แต่งกายชุดพลเรือนเข้ามาทำงานในฐานทัพ ทำให้นายทหารและทหารอาชีพด้วยกันบางคนมองว่า เป็นพวกแหกคอก แม้กระทั่งเพื่อนซีลด้วยกัน แต่จุดมุ่งหมายโดยแท้จริงคือเพื่อให้สมาชิกหน่วยทำตัวให้กลมกลืนกับผู้คนให้ มากที่สุดเพื่อง่ายต่อการแทรกซึมโดยไม่ถูกสังเกตุโดยง่ายดาย









  ภารกิจของหน่วยซีลทีมหกในยุคแรกนั้นไม่ค่อยถูกเผยแพร่ต่อสาธารณชนมากนัก ภารกิจที่ได้รับการเปิดเผยตอนแรกๆ เช่น ปฏิบัติการ Urgent Fury ที่เกรนาดา
ภารกิจช่วยชีวิตตัวประกันบนเครื่องบิน สายการบิน TWA เทียวบินที่847 และภารกิจ Red Cells อันเป็นภารกิจในการตรวจสอบหาความบกพร่องของระบบรักษาความปลอดภัยของฐานทัพ เรือแต่ละแห่งของสหรัฐฯ เป็นเหตุให้มาร์ชินโก้ถูกยุติบทบาทอาชีพทหารเรือลง(มีเรื่องเล่าว่าเป็น ฝีมือของเหล่าผู้บังคับบัญชาที่ได้รับผลกระทบจาก Red Cells และตัวมาร์ชินโก้เองที่ถูกกองทัพตรวจสอบพบว่าได้มีการยักยอกงบประมาณ) จึงทำให้หน่วยถูกยุบลงไปด้วย แต่ภายหลังได้มีการจัดตั้งใหม่อีกครั้งโดยเปลี่ยนชื่อเป็นThe United States Naval Special Warfare Development Group (NSWDG) หรือ DEVGRU ไม่ว่าจะเรียกชื่ออะไร แต่จริงๆแล้ว  คือหน่วยเดียวกันนั่นเอง








การคัดเลือกบุคลากรเพื่อเข้ามาเป็นสมาชิกในหน่วยนี้ จะต้องเคยเป็นสมาชิกหน่วยสงครามพิเศษทางเรือผ่านการปฏิบัติงานภาคสนามมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 2 ปีและต้องผ่านการทดสอบเบื้องต้น เมื่อผ่านการทดสอบแล้วผู้สมัครจะถูกย้ายเข้าสู่ Green Team ทีมน้องใหม่ที่จะได้เรียนรู้ทักษะการต่อต้านการก่อการร้ายและบททดสอบที่มี เกณฑ์ไม่ตายตัว ซึ่งมีโอกาสที่จะถูกส่งตัวกลับตลอดเวลา โดยกระบวนการคัดเลือกและการฝึกจะมีความคล้ายคลึงกับหน่วยเดลต้าของกองทัพบก


  เมื่อพวกเขาผ่านกรีนทีมมาแล้วพวกเขาจะได้เป็นส่วนหนึ่งในการรับมือกับการก่อ การร้ายหรือภารกิจที่มีความเสี่ยงอันตรายและลับสุดยอดที่สุด และยังได้รับการยอมรับว่าเป็น "ที่สุด" ของหน่วยซีลปัจจุบันพวกเขามีภารกิจที่ประสบความสำเร็จหลายภารกิจทั้งที่ไม่มีการรับรู้ จากสาธารณชนและที่เป็นที่รับรู้ เช่นภารกิจในการเข้าช่วยเหลือกัปตันเรือสินค้า ริชาร์ด ฟิลลิปส์ (Richard Phillips) จากการถูกจับโดยโจรสลัดโซมาเลีย เมื่อ 12 เม.ย. 2009 ปฏิบัตการ Neptune Spear ปฏิบัติการช่วยคนงานอังกฤษ เฮเลน จอห์นสตันและคนงานอีกสามคนที่ถูกทาลิบันจับตัวไป โดยซีลทีมหกได้ปฏิบัติการร่วมกับ หน่วย)ปฏิบัติการพิเศษทางอากาศ (SAS) ของอังกฤษ เมื่อ 28 พ.ค. 2012







แหล่งข้อมูล
1 กองทัพสหรัฐฯ
2.http://en.wikipedia.org/wiki/SEAL_Team_Six

วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

Operation Red Wing 28 june 2005 :

     





   แม้สหรัฐอเมริกาจะขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศ ที่ การทหารมีประสิทธิภาพมากที่สุด แต่หาใช่ว่าจะเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะเสมอไป  บางครั้งพวกเขาได้รับบทเรียนโดยแลกกับ "ชีวิต" ของทหารที่ต้องสูญเสียในการรบ   อาทิ สงครามเวียดนาม  ปฏิบัติการฟื้นฟูความหวังในโซมาเลีย  และเมื่อเดือนมิถุนายน ที่ผ่านมานั้นความล้มเหลวได้เป็นที่รับรู้อีกครั้ง เมื่อสมาชิกหน่วย ซีล หน่วยรบพิเศษที่ได้รับการยอมรับว่า เป็นหน่วยชั้นยอดอันดับต้นๆ ของโลก ต้องสูญเสียสมาชิกฝีมือดีเป็นจำนวนมาก และอาจเป็นการสูญเสียมากที่สุด ในประวัติศาสตร์การรบของอเมริกา   





      แต่อีกด้านหนึ่งก็ได้เห็นมุมมอง ในความกล้าหาญและความเสียสละ ของพวกเขาที่มีต่อสหายศึกโดยไม่เกรงกลัวต่อความตายที่รอเบื้องหน้า    ภารกิจนี้มีชื่อ ว่า ปฏิบัติการปีกแดง หรือ Operation Red Wing นั่นเอง 


        ภารกิจ Red Wingคือปฏิบัติการทางทหาร ในการค้นหา จับกุม หรือสังหาร อาร์เหม็ด ชาร์ ผู้นำระดับสูงคนหนึ่งของตาลีบัน โดยขั้นตอนการปฏิบัติการมีทั้งหมด 5 ขั้นตอน ดังนี้




จากซ้ายไปขวา  เมอร์ฟี่  ซู  แอ็กซ์เซลสันและ ลูเทร็ลล์ ในชุดลาดตระเวน
  1. แผนการโดยรวม
    1. ขั้นแรก  : ส่งชุดลาดตระเวน เช้าไปสำรวจพื้นที่ ค้นหาและยืนยันการมีตัวตนของเป้าหมาย
    2. ขั้นสอง  : ชุดโจมตี เมื่อได้รับการยืนยันเป้าหมายแล้วจะเข้าโจมตี เป้าหมาย 
    3. ขั้นสาม  : เมื่อการโจมตีเสร็จสิ้น  นาวิกโยธินโดยสนธิกำลังกับกองทัพอัฟกันจะเข้ามาตรวจสอบ พื้นที่ 
    4. ขั้นที่สี่   : นาวิกโยธินโดยสนธิกำลังกับกองทัพอัฟกันเมื่อตรวจสอบพื้นที่เสร็จสิ้น  จะเข้าไปจัดชุดช่วยเหลือดูแลพลเรือนในพื้นที่
    5.  ขั้นสุดท้าย :  นาวิกโยธินจะทำการเฝ้าระวังในพื้นที่ 1 เดือน เมื่อไม่มีภัยคุกคามจะถอนตัวออกจากพื้นที่

    แม้แผนการจะวางขั้นตอนไว้อย่างรัดกุม แต่สรรพสิ่งบนโลกย่อมมีการพลิกผันได้ตลอด แต่ความพลิกผันนั้นกลับก่อตัวในขั้นแรก  เสียแล้ว  และนี่คือเหตุการณ์ในวันนั้น 




     คืนวันที่ 27 มิถุนายน 2005 ชุดลาดตระเวน 4 นาย ประกอบด้วย ผู้กองไมค์ เมอร์ฟี่  ,จ่า แม็ทธิว เอ็กซ์เซลสัน , จ่า แดนนี่ ดิ๊ท  และ จ่าโท
    มาร์คัส ลูเทร็ลล์  ได้ถูกส่งตัวโดยเฮลิคอปเตอร์ แบบ MH-47  Chinook  โดยกรมบินปฏิบัติการพิเศษที่ 160  พวกเขาทั้งสี่ เข้าวางตัวในจุดสังเกตุการณ์ตอนแรกแต่ด้วยปัญหาการระบบสื่อสาร ต้องย้ายไปจุดสังเกตุการณ์ใหม่ 


            Michael Murphy

            Matthew "Axe" Axelson

       
     







                 Danny Dietz


             Marcus Luttrel


    ซึ่งการวางตัวสังเกตุการณ์ของสี่คนเป็นไปได้ด้วยดี ตามกำหนดการแต่แล้วเค้าลางแห่งหายนะมาเยือนเมื่อ ระหว่างการวางตัวในจุดสังเกตุการณ์นั้น บังเอิญมีกลุ่มคนเลี้ยงแพะจำนวนหนึ่งได้เดินเข้ามาในจุดสังเกตุการณ์ของสมาชิกหน่วยซีล  เข้าโดยบังเอิญซึ่งเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อภารกิจของพวกเขา  ทำให้ซีลสี่นายจึงทำการจับกุมและต้องหาทางทำอะไรสักอย่างกับกลุ่มคนเลี้ยงแพะ เพราะพวกเขาอาจจะเผยการมีตัวตนของทหารอเมริกัน และนั่นหมายถึงการมาของข้าศึกที่จะกรูกันเข้ามาตะลุมบอน  ซึ่งเคยเกิดขึ้นในสมัยสงครามอ่าวเปอร์เซียในปี  1991 ที่ชุดลาดตระเวน รหัส Bravo 2-0 ของหน่วยSAS แหงอังกฤษที่เข้าไปลาดตระเวนหา จรวด SCUDแล้ว จุดสังเกตุการณ์ถูกพบโดยเด็กท้องถิ่น จนส่งผลให้ภารกิจล้มเหลวในที่สุด



     ซีลทั้งสี่จึงถกประชุมกันว่าควรทำอย่างไร ซึ่งแอ็กเซลสันเสนอให้กำจัดทิ้งเพื่อความปลอดภัยด้วยเกรงว่ากลุ่มคนเลี้ยงแพะอาจจะนำข่าวไปบอก กลุ่มของชาห์ก็ได้  แต่ ลูเทร็ลล์ ขอให้ปล่อยเชลยไป  เพราะเชลยเป็นผู้บริสุทธิ์และเห็นว่า การฆ่าเชลยอาจผิดกฎการปะทะ  (Rule Of Engagement) ซึ่งเป็นความผิดวินัยทหารและอาจทำให้เกิดความเสื่อมเสียถ้าข่าวดังกล่าวถูกเผยแพร่    แม้แอ็กเซลสันจะยืนกรานไม่เห็นด้วยจนเกือบจะทะเลาะ แต่ในที่สุดเมอร์ฟี่กลับ ขอให้ทุกคนตัดสินใจร่วมกัน  ซึ่งตกลงกันว่า จะปล่อยเชลยและถอนตัวให็เร็วที่สุดเพื่อเลี่ยงการปะทะ  


    แต่สายเกินไปเสียแล้ว  เมื่อย้อนกลับไปยังจุดสังเกตุการณ์ตอนแรก พวกเขากลับพบกลุ่มติดอาวุธจำนวนมากเข้าล้อมพื้นที่แล้ว  ซึ่งทั้งสี่ไม่มีทางเลือกจึงตัดสินใจปักหลักต่อสู้   แต่ด้วยจำนวนศัตรูที่มากกว่า หน่วยซีลหลายเท่าตัวประกอบกับความชำนาญพื้นที่  ของเหล่ากองโจรทำให้สี่สมาชิกหน่วยซีลถูกต้อนไปยังเนินเขา พร้อมกับถูกยิงบาดเจ็บแต่ทั้งสี่ก็ยังปักหลักต่อสู้ พร้อมกับร่นถอยไปยังเนินเขาด้วยการกระโดดลงมาเพื่อลงไปยังหมู่บ้านใกล้ๆ  จนกระทั่งการโดดครั้งที่ 2 แดนนี่ ดิ๊ทซ์ พลสื่อสารประจำทีม เสียชีวิตในหน้าที่  

       การถอนตัวที่เต็มไปด้วยคามเสียเปรียบดังกล่าว  ทำให้ไมเคิล เมอร์ฟีย์ ตัดสินใจหยิบโทรศัพท์ดาวเทียม  และฝ่าดงกระสุนขึ้นไปยังเนินเขาอีกครั้งเพื่อให้โทรศัพท์ มีสัญญาณเพียงพอที่จะส่งคำขอความช่วยเหลือไปยังกองบัญชาการ   แต่สุดท้ายเขาก็ถูกยิงเสียชีวิตไปอีกคน















    Erik Kristensen 

















    Shane Patton 
















    James Suh



        แต่การตายของเมอร์ฟีย์ ก็ไม่เสียเปล่า คำขอความช่วยเหลือมาถึงกองบัญชาการที่ ฐานในบากราม นาวาตรี อีริค คริสเตนเซ่น ผบ. ของซีล ตัดสินใจนำทีมซีลที่เหลือติดอาวุธ โดยสั่งไปว่า "ไมเคิล ต้องการปืนทุุกกระบอกที่มี เร็วเข้า!!"  พวกเขารีบจัดอาวุธและอุปกรณ์ขึ้นไปยัง เฮลิคอปเตอร์ แบบ เอมเอช 47 "ชีนุค" ทันทีเพื่อไปรับสมาชิกทั้งสี่นายออกมา  โดยในชุดช่วยเหลือดังกล่าว  มี เชน แพตตั้น พลสื่อสารที่เคยถูกวางเป็นชุดลาดตระเวนในตอนแรก  เจมส์ ซู

         แต่พวกกองโจรรู้แต่แรกว่าอเมริกาจะต้องส่งกำลังเสริมเข้ามาแน่นอน จึงจัดชุดซุ่มโจมตีไปยังจุดลงจอด  เมื่อชุดช่วยเหลือมาถึงพวกเขาแปลกใจมากแต่ไม่สามารถทำอะไรได้เมื่อ กองโจรยิงจรวดอาร์พีจีเข้าใส่เฮลิคอปเตอร์  ส่งผลให้พวกเขาเสียชีวิตยกทีมรวมถึงนักบินจากกรมบินพิเศษ 160 ด้วย 


          ขณะเดียวกัน มาร์คัส กับแอ็กเซิลสัน  ซึ่งยังช็อคกับเหตุการณ์ดังกล่าว นั้น กลับพลัดหลงกันระหว่างการร่นถอย  จนแอ็กซ์เซิลสันต่อสู้จนกระสุนหมดและถูกสังหาร  จนตอนนี้มีเพียงแค่มาร์คัส คนเดียวที่ยังเป็นสมาชิกที่ยังมีชีวิต  สภาพเขาตอนนี้เต็มไปด้วยบาดแผล เหนื่อยจัด และ กระหายน้ำ เพราะระหว่างร่นถอยเขาเผลอทำกระเป๋าน้ำหาย  รวมถึงอุปกรณ์ดำรงชีพต่างๆ
    แต่สวรรค์ก็ยังเข้าข้าง  เมื่อเจาได้พบกับ คูแลบ ชายเลี้ยงแพะจากอีกหมู่บ้านหนึ่งที่พาเขามารักษาตัวและให้พักฟื้น  ซึ่งทำให้เพื่อนบ้านไม่พอใจเพราะ ถ้าตาลีบันรู้ว่าใครให้ความช่วยเหลือคนอเมริกัน  จะถูกสังหารหมู่ 


          เมื่อมาร์คัสหายดีแล้วเขาขอให้ชาวบ้านคนหนึ่งนำจดหมายของเขาไปส่งที่ค่ายทหารที่ใกล้ที่สุดเพื่อเป็นการยืนยันว่าเขายังมีชีวิตอยู่   จนในที่สุดทางกองทัพได้ส่งหน่วยปฏิบัติการพิเศษมารับตัวมาร์คัสกลับสู่ฐาน  อย่างปลอดภัย 


           สรุปภารกิจดังกล่าว มีผู้เสียชีวิตเป็นหน่วยซีล 11 นาย และนักบินจากกรมบินพิเศษ 160 อีก 8นาย  โดยมีเพียงมาร์คัส เป็นผู้รอดชีวิตคนเดียวในภารกิจในครั้งนี้  อีกทั้งภารกิจนี้ได้ถูกบันทึกในฐานะที่เป็นภารกิจที่มีการสูญเสียมากที่สุด แต่ ภารกิจก็ได้แสดงให้เห็นถึงความกล้าหาญ  และ การเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในยามวิกฤต ที่ต้องสู้กับศัตรูของซีล ทั้งที่รู้ว่าจะต้องเจอกับความตายอยู่เบื้องหน้า   

            ขอส่งท้ายด้วยบทกวีของ เทคุมเช่ หัวหน้าเผ่าอินเดียนแดง บทหนึ่ง ว่า

    "When it comes your time to die, be not like those whose hearts are filled with the fear of death, so that when their time comes they weep and pray for a little more time to live their lives over again in a different way. Sing your death song and die like a hero going home.

              เมื่อความตายได้มาเยือน  อย่าให้ความตายย่างกรายเข้ามาในหัวใจ จงอธิษฐานเพื่อให้มีชีวิตต่ออีกสังเล็กน้อย 

               จงร่ายบทเพลงมรณะและตายอย่างวีรบุรุษผู้กลับสู่มาตุภูมิ


     
    แหล่งอ้างอิง

     1.ภาพยนตร์เรื่อง Lone Survivor
     2. http://pantip.com/topic/31460344



     

วันอังคารที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

เปิดหนังดู : Life is Beautiful (1997) : ยิ้มไว้โลกนี้ไม่มีสิ้นหวัง

Life is Beautiful (1997) : ยิ้มไว้โลกนี้ไม่มีสิ้นหวัง



 เคยมีคำกล่าวที่ว่า "สุขหรือทุกข์นั้นอยู่ที่ใจ" ซึ่งคำกล่าวนี้เป็นจริงหรือไม่ เชื่อว่าทุกคนย่อมมีคำตอบของตัวเองอยู่แล้ว คำกล่าวนี้ทำให้ผมนึกถึงหนังที่ได้ดูเมื่อตอนกลางคืน ตอนแรกกะว่าจะดูผ่านๆแต่เมื่อหนังเข้า  สู่ครึ่งหลังแล้วกลับดึงดูดให้ผมดูจน จบในที่สุด เพราะอะไรเดี๋ยวจะเล่าให้ฟัง


    



  


  เนื้อเรื่องของหนังเล่าถึงหนุ่มชาวยิวผู้มองโลกในแง่ดีชื่อ กุยโด้ ได้เดินทางมายังเมือง Arezzo ในอิตาลี เพื่อมายื่นเรื่องขอเปิดร้านหนังสือ ในเมืองซึ่งทำให้เขาได้พบกับกับดอร่า คุณครูสาว แม้ตอนแรกจะมีอุปสรรคบ้างสำหรับกุยโด้แต่ด้วยความเป็นมิตร และการมองโลกในแง่ดีของเขาจึงสามารถเปิดร้านหนังสือและพิชิตหัวใจของดอร่าจน ได้แต่งงานในที่สุด ภายหลังทั้งคู่ได้ให้กำเนิดลูกชายชื่อ โจชัว และใช้ชีวิตครอบครัวร่วมกัน ฟังดูเหมือนหนังฟีลกู้ด โรแมนติกใช่ไหมครับ ไม่เลยถ้าเปรียบตอนแรกเป็นอาหารเรียกน้ำย่อย ครึ่งหลังนี้ก็เหมือนกับอาหารจานหลักที่จะทำให้คุณอิ่มแบบไม่รู้ลืม


กุยโด ดอร่า และเจ้าหนูโจชัว




  ต่อมาเมื่อหนูน้อยโจชัวอายุประมาณ 5 ขวบ ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่สองขึ้น ซึ่งกองทัพเยอรมันได้ดำเนินแผนการกำจัดชาวยิว ซึ่งก็ไม่พ้นถึงคราวของกุยโด้ซึ่งถูกตำรวจลับจับตัวไปพร้อมกับโจชัว เพื่อส่งไปยังค่ายกักกัน ส่วนดอร่าก็ถูกจับหลังจากออกตามหาสามี ซึ่งเป็นที่รู้ว่าเป็นการยากที่จะรอดชีวิตกลับมาจากค่ายกักกัน แต่ด้วยความรักลูกที่ไม่ต้องการให้ลูกได้รับรู้ถึงความจริงที่โหดร้ายและการ มองโลกในแง่ดีของกุยโด้ เขาจึงโกหกลูกชายซึ่งถามเขาว่าทำไมต้องมาที่ค่ายว่า เป็นการมาเที่ยวเพื่อเล่นเกมโดยทำแต้มให้ครบหนึ่งพันคะแนน จะมีรางวัลเป็นรถถัง ถ้าชนะเกมนี้







   



 ตลอดเวลาที่อยู่ในค่ายกักกัน กุยโด้พยายามที่จะดูแลโจชัวไม่ให้เขาต้องเห็นภาพที่เลวร้ายในค่ายโดยพยายาม ทำให้โจชัวเห็นว่าการใช้ชีวิตในค่ายคือการเล่นเกมซึ่งเขาก็ต้องแก้ปัญหา ต่างๆทั้งปกปิดความลับไม่ให้ลูกชายรู้และพยายามสืบข่าวเรื่องดอร่าภรรยาของ เขา ทำให้เราลุ้น ตลอดว่าความลับจะถูกเปิดเผยหรือไม่ จะเจอดอร่าหรือเปล่า ยิ่งนานเข้าเจ้าหนูโจชัวเกิดเบื่อหน่ายไม่อยากเล่นเกมแล้ว กุยโด้ก็งัดไม้เด็ดบอกว่าตอนนี้เราพ่อลูกมีคะแนนทีใกล้จะได้รางวัลแล้ว ซึ่งเหมือนเป็นการบอกลูกว่าสงครามกำลังจะสิ้นสุดลงแล้วนั่นเอง




    และเป็นไปตามคาดสงครามกำลังจะสิ้นสุดฝ่ายเยอรมันกำลังเสียเปรียบเพราะถูกกอง ทัพสัมพันธมิตรกำลังเข้ายึดพื่นที่ทำให้กองทัพเยอรมันกลัวว่าเรื่องค่าย กักกันจะถูกเปิดเผยจึงมีคำสั่งให้ย้ายนักโทษไปไว้ที่ค่ายนอกเมืองและทำลาย หลักฐานต่างๆอย่างชุลมุน กุยโด้จึงใช้โอกาสนี้พาโจชัวมาซ่อนไว้และบอกลูกว่าถ้าลูกซ่อนตัวโดยไม่มีใคร จับได้เลยจนถึงอีกวันจะชนะรางวัล และเขาจึงรีบวิ่งไปยังค่ายพักโซนที่พักของผู้หญิงเพื่อหาดอร่า แต่โชคร้ายเขาถูกทหารเยอรมันจับได้ซึ่งกุยโด้รู้ตัวว่าเกมจบลงแล้วและรู้ว่า ไม่รอดแน่ๆ แต่ระหว่างที่เขาถูกคุมตัวไปซึ่งผ่านจุดซ่อนตัวของลูกชายเขาจึงแสดงความกล้า หาญให้ลูกชายเห็นโดยการทำท่าทะเล้นต่าง ๆพร้อมกับโบกมือให้ลูกชาย และนั้นคือภาพสุดท้ายที่หนูน้อยโจชัวได้เห็นพ่อของเขา ซึ่งคืนนั้น เกมได้จบลงพร้อมการที่กุยโด้ถูกยิง


      เมื่อเข้าสู่เช้าวันใหม่โจชัวได้ออกมาจากที่ซ่อนเขากลับไม่พบใคร กระทั่งต่อมาทหารอเมริกันซึ่งมาพร้อมกับรถถัง ทำให้โจชัวดีใจเพราะคิดว่าเขาชนะ ''เกม''แล้วและทหารผู้นี้ได้พาโจชัวนั่งรถถังจนได้พบกับดอร่าผู้เป็นแม่อีกครั้ง









หนังเรื่องนี้ชื่อเรื่องว่า Life is Beautiful หรือชื่อไทย "ยิ้มไว้โลกนี้ไม่มีสิ้นหวัง"
เป็นภาพยนตร์ของอิตาลี ซึ่งกำกับ เขียนบท และแสดงนำโดย โรแบร์โต เบนิญี่
และยังได้รับรางวัลออสการ์ 3 รางวัล จากการเสนอชื่อ 7รางวัล โดย3 รางวัลนั้นคือ นักแสดงนำชายยอดเยี่ยมโดย โรแบร์โต เบนิญี่ รางวัลภาพยนตร์ต่างประเทศยอดเยี่ยม, และรางวัลดนตรีประกอบยอดเยี่ยม








 จากเนื้อเรื่องครึ่งหลังนั้นเองที่ทำให้ผมนั่งดูจนจบลง แม้จะดูเหมือนว่ากุยโด้แพ้เกมนี้แต่ที่จริงเขาคือผู้ชนะโดยแท้จริง เพราะเขาไม่ยอมแพ้ต่อความสิ้นหวังแม้ว่าตอนที่ถูกจับได้คือวาระสุดท้ายของ ชีวิตเขาก็ยังยิ้มให้ลูกชายเป็นครั้งสุดท้ายฉากนี้ได้ใจเต็มๆเลยแต่เหนือ สิ่งอื่นใดที่เป็นตัวบ่งชี้ว่าเขาชนะเกมนี้ก็คือ เขารักษาชีวิตลูกชายให้รอดชีวิตจากค่ายนี้ ด้วย ''ชีวิต'' และความกล้าหาญของกุยโด้นั่นเอง เมื่อหนังจบลงผมว่าคำตอบของ คำกล่าวที่ว่า"สุขหรือทุกข์นั้นอยู่ที่ใจ" นั้นเป็นจริงเสมอหากเราไม่ไร้ซึ่ง "ความหวัง" ในหัวใจของเราเอง





แหล่งอ้างอิง
1.http://www.iseehistory.com/index.php…
2.http://th.wikipedia.org/…/%E0%B8%A2%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8…

เปิดหนัง ดู : Tears of the Sun (2003) : เมื่อภารกิจนี้ คำตอบมีให้เลือกแค่ "หน้าที่" หรือ "มนุษยธรรม"

Tears of the Sun (2003) : เมื่อภารกิจนี้ คำตอบมีให้เลือกแค่ "หน้าที่" หรือ "มนุษยธรรม"






 เคยมีหนังสือเล่มหนึ่งกล่าวไว้ว่า "สงครามได้เผยสิ่งเลวร้ายที่สุดในตัวมนุษย์ออกมานั่นคือปีศาจร้าย คือคนที่ชอบความเจ็บปวด ความทุกข์ทรมาน และความตายที่พวกตนได้ก่อขึ้น แต่สงครามก็ยังได้เผยส่วนดีในตัวผู้คนออกมาเช่นกัน เช่น กลุ่มคนที่ยอมเสี่ยงชีวิตต่อสู้เพื่อสิ่งที่เขาเชื่อว่าถูกต้อง"
ซึ่งทำให้นึกถึงภาพยนตร์เรื่องหนึ่งที่เล่าเรื่องราวของนายทหารที่ต้อง เลือกระหว่าง "หน้าที่" หรือ "มนุษยธรรม" เพื่อให้ภารกิจบรรลุเป้าหมาย ภาพยนตร์เรื่องนี้ มีชื่อว่า Tears of the Sun




เรือเอก วอเทอร์ (รับบทโดย บรู๊ซ วิลลิซ) กับเหล่าทหารหน่วยซีล  

     ภาพยนตร์เปิดเรื่องราวที่ประเทศไนจีเรียซึ่งได้เกิดความไม่สงบภายในประเทศ อันเกิดจากสงครามกลางเมือง ทำให้เริ่มมีการอพยพชาวต่างชาติที่อาศัยในประเทศไนจีเรียจากนานาประเทศ รวมถึงสหรัฐอเมริกา ซึ่งหน่วยปฏิบัติการพิเศษของกองทัพเรือสหรัฐฯหรือหน่วยซีล (US Navy Seal) ภายใต้การนำทีมโดย เรือเอก วอเทอร์ (รับบทโดย บรู๊ซ วิลลิซ) ได้เสร็จสิ้นจากภารกิจอพยพพลเรือนและเจ้าหน้าที่พลเรือนของสหรัฐฯเช่นกัน แต่ยังไม่ทันได้พักผ่อนได้มีคำสั่งให้พวกเขาต้องกลับเข้าไปยังไนจีเรียอีก ครั้ง โดยพวกเขาได้รับภารกิจให้เข้าไปรับตัว ดร.ลีน่า เคนดริกซ์ (รับบทโดย โมนีกา เบลลุชชี) คุณหมอสาวที่ไปทำงานให้กับโบสถ์นอกเมือง ซึ่งพวกเขาก็สามารถแทรกซึมเข้าสู่ไนจีเรียและพบ ดร.เคนดริกซ์ แต่คุณหมอสาวกลับไม่ยอมไปกับทีมของผู้การวอเทอร์โดยขอร้องว่าถ้าจะให้ออกจาก ไนจีเรียก็ขอให้ชาวบ้านที่หลบภัยในโบสถ์เดินทางไปด้วยกัน ซึ่งผู้การวอเทอร์ก็ไม่เห็นด้วยเพราะถ้านำกลุ่มชาวบ้านไปด้วยจะทำให้เกิด ความล่าช้าและเป็นอันตรายต่อภารกิจ แต่เมื่อดร.เคนดริกซ์ยังไม่ยอมไปกับหน่วยซีล สุดท้ายผู้การวอเทอร์จึงยอมให้กลุ่มชาวบ้านเดินทางไปกับคุณหมอสาว แต่เมื่่อเดินทางถึงจุดนัดพบ ผู้การวอเทอร์จึงให้ทีมนำตัวหมอเคนดริกซ์ขึ้นเฮลิคอปเตอร์ที่มารับและปล่อย ให้กลุ่มชาวบ้านเดินทางข้ามชายแดนกันเอง
 

ดร.ลีน่า เคนดริกซ์ (รับบทโดย โมนีกา เบลลุชชี)
  ระหว่างเดินทางกลับ ผู้การวอเทอร์ได้เห็นภาพหมู่บ้านถูกเผาทำลายและศพชาวบ้านที่ถูกกองกำลังทหาร เข้าโจมตีและสังหารหมู่อย่างโหดเหี้ยม จึงทำให้ผู้การวอเทอร์ตัดสินใจในเสี้ยววินาทีนั้น ขอให้เฮลิคอปเตอร์กลับไปยังจุดนัดพบตอนแรกและสั่งให้ลูกทีมคุ้มกันหมอเคน ดริกซ์และชาวบ้านไปยังชายแดนแคเมอรูน แม้ตอนแรกลูกทีมจะแสดงท่าทีสงสัยระคนกับความไม่พอใจว่าทำไมต้องกลับไปช่วย ชาวบ้านเหล่านี้ ทั่งที่ไม่ใช่ภารกิจ แต่ระหว่างการเดินทางข้ามชายแดนก็ทำให้เหล่าทหารเข้าใจเหตุผลของหัวหน้าทีม ของตนเองมากขึ้น แต่ขณะเดียวกันกองกำลังทหารเผด็จการของไนจีเรียก็ได้ส่งทีมติดตามทีมของวอ เทอร์ เพื่อ ตามล่า “เป้าหมายสำคัญ” ที่แฝงตัวมากับกลุ่มชาวบ้านด้วยแม้การตัดสินใจของผู้การวอเทอร์ย่อมเป็นการขัดต่อคำสั่งอันจะส่งผลให้ภารกิจ มีความยุ่งยากและเสี่ยงอันตรายมากขึ้น แต่เขาก็จะพยายามที่จะทำภารกิจนี้ให้ลุล่วงซึ่งอาจจะทำให้เขาได้รับคำตอบ ที่เขาอยากจะบอกแก่ลูกทีมของเขาเช่นกัน








                                                                           


      แม้จะเป็นภาพยนตร์แอ็คชั่นเกี่ยวกับเหล่าทหารหาญถูกส่งไปทำภารกิจเสี่ยงตาย แต่สิ่งที่หนังได้พยายามสื่อสารให้เราได้รับรู้และนำไปขบคิดก็คือ “ ระหว่าง” หน้าที่ กับ ” มนุษยธรรม” โดยเล่าผ่าน ผู้การวอเทอร์ นายทหารผู้ยึดมั่นในภารกิจที่ตนเองได้รับ คือการนำตัวหมอเคนดริกซ์ออกจากไนจีเรีย จึงทำให้เขาไม่สามารถที่จะช่วยเหลือชาวบ้านอันเป็นสิ่งที่อยู่ นอกภารกิจไม่ได้ เพราะจะทำให้เกิดความยุ่งยากในการปฏิบัติภารกิจและเสี่ยงอันตรายมากขึ้น แม้ในใจก็อยากจะนำชาวบ้านออกไปด้วยก็ตาม แต่ด้วยผลลัพธ์ดังกล่าวที่จะมีแต่อันตรายตามมา ทำให้เขาจำต้องยึดมั่นในคำสั่งเดิม แต่เมื่อเขาได้เห็น    ภาพความโหดร้ายระหว่างเดินทางกลับ ทำให้เขา ตัดสินในกลับไปรับชาวบ้านอีกครั้งประเด็นนี้ยังสะท้อนให้เห็นถึงความยากลำบากที่ต้องตัดสินใจในการปฏิบัติต่อ พลเรือน ซึอาจจะมีข้าศึกแฝงตัวหรือพลเรือนที่เป็นผู้ให้ความช่วยเหลือฝ่ายศัตรูส่งผล ทำให้ภารกิจล้มเหลวและชีวิตของผู้ปฏิบัติภารกิจ เหมือนที่เคยเกิดในภารกิจ บราโว่ 2-0 ของหน่วย SAS แห่งอังกฤษ หรือ ภารกิจเรด วิงส์ ของหน่วยซีลนั่นเอง ทำให้เราเข้าใจความรู้สึกของผู้การวอเทอร์ในขณะนั้นอย่างชัดเจน




   หลังจากดูเรื่องนี้จบ ทำให้ผมนึกถึงวลีที่เคยกล่าวตอนเปิดเรื่องเลยว่า ”แม้สงครามจะทำให้ต้องกระทำอันเป็นการเผยในสิ่งที่ชั่วร้ายออกมา กล่าวคือเพิกเฉยต่อพลเรือน เพราะคำสั่งภารกิจ แต่เมื่อตัดสินใจที่เข้าช่วยเหลือและคุ้มครองพลเรือน
ให้รอดพ้นจากอันตราย อย่างน้อยก็ยังได้เผยส่วนดีในตัวพวกเขาออกมาเพราะเขาเชื่อว่าสิ่งทำลงไปคือสิ่งที่ถูกต้องนั่นเอง"




แหล่งข้อมูล:
1. http://topicstock.pantip.com/…/20…/12/A7376286/A7376286.html

2. http://warfilm.wikia.com/wiki/Tears_of_the_Sun

3. imfdb.org